ความรัก ธุรกิจ สงคราม และการตลาดของ “เพชร”

breakfast at tiffanys

ความรัก ธุรกิจ สงคราม เพชร

เรื่องโดย เคน ไพน์ทวี

ภาพการคุกเข่าขอแต่งงานพร้อมกับกล่องแหวนเพชรที่สวยงามและราคาสูงนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนคงคุ้นตากันเป็นอย่างดี และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เหมือนกับข้อบังคับไปเสียแล้วว่าต้องมีเพื่อประกอบพิธีแต่งงานให้สมบูรณ์
 
แต่ในอดีต พิธีการแต่งงานตามความเชื่อแบบตะวันตกนั้น จ้าวบ่าวและจ้าวสาวก็เพียงแต่ผลัดกันสวมแหวนแต่งงานให้กันแทนสัญลักษณ์ของคำมั่นสัญญาว่าจะรักและดูแลกันไปตลอดจนวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งแหวนแต่งงานที่ว่านั้นก็เป็นเพียงแหวนโลหะมีค่าเช่น เงิน หรือ ทอง เรียบๆเท่านั้นไม่ได้มีการประดับอัญมณีแต่อย่างใด
 
แล้วค่านิยมของการใช้แหวนเพชรในการขอแต่งงานที่เราเข้าใจมาตลอดมันมาจากไหน เริ่มได้ยังไงกันล่ะ?
 
ขอพาทุกคนย้อนเวลากลับไปในช่วงประมาณปี 1947 กันสักนิด
 
ในยุคที่จักรวรรดิบริติชนั้นรุ่งเรืองสุดๆปกครองประเทศภายใต้อาณานิคมมากมายไปทั่วโลก รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ที่มีเหมืองเพชรอยู่เป็นจำนวนมาก
 
โดยบริษัทที่ได้สิทธิ์ในการทำเหมืองเพชรที่ใหญ่ที่สุดก็คือ “De Beers” ที่ขณะนั้นเป็นเพียงบริษัทขุดเหมืองเท่านั้น
 
ด้วยการที่ถือครองเพชรอยู่เพียงฝ่ายเดียว พวกเขารู้ดีว่า แม้จะมี s
“supply” มากขนาดไหน ถ้าไม่มี “demand” มันก็เท่านั้น
 
ดังนั้น De Beers จึงคิดจะลองหาโอกาสทางการตลาดให้กับเพชรของพวกเขา
 
ในเวลานั้นเศรษฐกิจในยุโรปเรียกได้ว่าเพิ่งจะฟื้นจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และกำลังเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกำลังก่อตัวในยุโรป ด้วยเหตุนี้ De Beers จึงเลือกประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่จะเข้าไปขายเพชรแทนเพราะเป็นประเทศที่ยังไม่ได้ร่วมสงครามเต็มตัว ณ ขณะนั้น
 
โดย De Beers ได้จ้างเอเจนซี่โฆษณาที่ชื่อ N.W. Ayer ให้เข้ามาทำการตลาดเพื่อให้เพชรจากเหมืองของเขาเป็นที่นิยมในหมู่คนอเมริกัน
 
หลังจากการทำการวิจัยการตลาดแล้วก็พบว่า ในสหรัฐอเมริกา เพชรเป็นเพียงของสะสมไว้อวดหรูสำหรับเหล่าเศรษฐีอเมริกัน คนเหล่านั้นก็มักจะนิยมประมูลอัญมณีหรือเครื่องประดับที่มีราคาแพงเก็บสะสมไว้เป็นสมบัติส่วนตน
 
ในขณะเดียวกัน De Beers ที่มีเพชรอีกมากมายและอยากขายให้กับคนทั่วไปก็เจอโจทย์ยากและท้าทาย เพราะประชาชนส่วนใหญ่ก็เผชิญกับภาวะ depression ในเวลานั้น ซึ่งโจทย์ของพวกเขาคือ จะทำยังไงให้คนรู้สึกว่า เพชร ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยแต่เป็นสิ่งมีค่าของชีวิตของคนอเมริกันในยุคนั้น?
 
แคมเปญแรกที่เกิดขึ้นนั้นเป็นโฆษณาที่เป็นภาพเขียนของสาวชุดแดงและมีเพชรลอยเด่นอยู่ข้างๆ พร้อมกับ Slogan ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า
 
“A Diamond is Forever”
 
A Diamond is Forever
.
จะเห็นได้ว่านี่ไม่ใช่การขายแหวนเพชรแต่อย่างใด
 
แต่จุดเริ่มต้น คือ การสร้างความเชื่อให้กับสาวอเมริกันจำนวนมากเห็นว่าเพชรเป็นสิ่งของมีค่าที่เชื่อมโยงกับความรักอันโรแมนติก และเพชรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของคนอเมริกันกันอย่างแพร่หลาย
 
แต่การที่ความเชื่อนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกนั้น เกิดจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในอเมริกานั้นเฟื่องฟูขึ้นมากหลังจบสงครามโลกครั้งที่สอง
 
สื่อและภาพยนตร์ก้าวสู่ยุคภาพเคลื่อนไหวกันเต็มตัว แบรนด์ต่างๆทั้ง Tiffany’s Cartier ก็เสริมให้ภาพยนตร์เหล่านั้นเกิด iconic ทำให้ภาพของเพชรและความโรแมนติกนั้น สัมผัสได้ไม่จำกัดแค่ในอเมริกาอีกต่อไป
 
ความเชื่อนี้ถูกถ่ายทอดผ่านทั้งบทเพลงและภาพยนตร์ออกไปสู่สากล ความโรแมนติกแบบที่ใครๆก็อยากมี กับความรักนิรันดร์ที่แทนความหมายด้วยแหวนเพชรที่เปล่งประกายและบริสุทธิ์
 
สำหรับสาวโสดก็ไม่ต้องตัดพ้อ หรือ น้อยใจไป
เพราะ “Diamonds are Girls’ Best Friend”
 
ลองคลิกไปฟังใน Youtube เพื่อเพิ่มความอินให้กับบทความนี้กันครับ https://youtu.be/ssg7rw1phEY
.